ประแจ ดาว เป็นเครื่องมีช่างที่สามารถช่วยช่างทำงานได้หลายแบบ


ประแจ ดาว

ประแจ ดาว เป็นอีกหนึ่งเครื่องมีช่าง ที่ช่างต้องมีติดตัวไว้ เพื่อการใช้งานที่สะดวก ซึ่งประแจดาว เป็นประแจที่มีหลายหัว ให้ช่างได้เลือกใช้ให้เข้ากับงานที่ช่างต้องทำ แต่วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประแจรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีกี่ประเภทให้คุณได้เลือกใช้ เพื่อให้งานของคุณง่ายขึ้น หากใครกำลังมองหาประแจเอาไว้ใช้งานสามารถติดตามบทความนี้ได้ พร้อมแล้วเราไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับประแจกันได้เลย

มาทำความรู้จักประแจชนิดต่าง ๆ

  1. ประแจแหวน (BOX WRENCH) เป็นประแจชนิดที่ใช้กับแรงกด-ขันมาก มีลักษณะเด่นอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน เป็นแหวนวงกลม ภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวประมาณ 6-12 เขี้ยว เพื่อใช้ในการจับเหลี่ยมแป้นเกลียวได้อย่างมั่นคง
  2. ประแจแหวนข้าง (COMBINATION WRENCH) ประแจชนิดนี้ได้รวมเอาประแจแหวนกับประแจปากตายเข้าไว้ด้วยกัน โดยที่ด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนกับประแจแหวน ส่วนอีกด้านจะเหมือนกับประแจปากตาย ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ขนาดของหัวประแจจะมีขนาดที่เท่ากันทั้งสองด้าน
  3. ประแจปากตาย (OPEN END WRENCH) ปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบ ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวเสียหายได้ ประแจปากตายเป็นประแจที่ไม่ต้องการใช้แรงขันหรือคลายมากนักเพราะมีด้านที่รับแรงจริง ๆ เพียง 2 ด้าน เช่น นอตขนาด 17 มม. ต้องใช้ประแจปากตาย เบอร์ 17 เป็นต้น ประแจปากตายเหมาะสำหรับงานหนัก
  4. ประแจบล็อก (SOKET WRENCH) เป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของช่างยนต์ ซึ่งประแจบล็อกมีไว้ใช้สำหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู นอต สลักเกลียว โดยท่อประแจบล็อกจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวที่แตกต่างกัน จุดเด่นของประแจบล็อก คือสามารถใช้สำหรับวัดแรงกดขันนอตได้ สะดวกเหมาะใช้ในงานช่างยนต์
  5. ประแจหกเหลี่ยม หัวดาวบางครั้งเรียกว่ากุญแจหัวรูปดาว คล้าย ๆ กับประแจหกเหลี่ยม ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้พอดีกับหัวสลักเกลียว และสกรูบางตัวที่เป็นรูปดาว
  6. ประแจปอนด์ หรือประแจทอร์ค (TORQUE WRENCH) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์ค การไขนอต หรืออุปกรณ์ยึดต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป ประแจปอนด์หรือประแจทอร์คมีหน่วยวัดเป็น นิวตันเมตร (N.M.), ปอนฟุต (LB.FTS), ปอนด์นิ้ว (LBF.IN), กิโลกรัมเมตร (KGF.M) เป็นต้น
  7. ประแจเลื่อน (ADJUSTABLE WRENCH) เป็นประแจที่สามารถปรับความกว้างของปากประแจได้ ใช้สำหรับขันเกลียว นอต หรือ ยึด อุปกรณ์ต่าง ๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับล็อกอุปกรณ์เช่น นอต
  8. ประแจคอม้า (STRAIGHT PIPE WRENCH) เป็นประแจที่สามารถปรับขนาดได้ค่อนข้างกว้าง ไว้ใช้สำหรับขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ข้อควรระวัง คือ อุปกรณ์ชนิดนี้มีฟันที่ค่อนข้างแหลม จึงไม่เหมาะสำหรับใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความสวยงาม เพราะฟันของประแจจะกินเข้าไปในผิวชิ้นงานในขณะใช้งานอาจทิ้งรอยไว้ได้
  9. ประแจอเนกประสงค์ (MULTI PUTPOSE WRENCH) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับขันเกลียวท่อเหล็กหรือยึดนอต ประแจอเนกประสงค์ออกแบบหัวจับนอตที่ปรับขนาดอัตโนมัติ สามารถขันนอตได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นนอตทรงกลม ทรงหกเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือท่อแป๊บ ประแจอเนกประสงค์ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนมีความแข็งแรง ไม่บิ่น หรือแตกหักง่าย สามารถใช้งานกับนอตได้ตั้งแต่ 9-32 มม.

ทั้งหมดนี้เป็นประแจ ที่ทุกคนต้องมีติดบ้านเพื่อการใช้งานที่สะดวก แต่ยังมีประแจรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณสามารถเลือกซื้อได้ตามร้านค่าทั่วไปซึ่งมีหลากหลายรูปแบบให้คุณได้เลือกซื้อตามความต้องการ และตามการใช้งานได้เลย

วิธีการใช้ประแจให้ปลอดภัย

  • เลือกใช้ประแจที่มีขนาดของปากและความยาวของด้ามที่เหมาะสมกับงานที่ใช้ ไม่ควรต่อด้ามให้ยาวกว่าปกติ
  • ปากของประแจต้องไม่ชำรุด เช่น สึกหรอ ถ่างออก หรือร้าว
  • เมื่อสวมใส่ประแจเข้ากับหัวน็อต หรือหัวสกรูแล้ว ปากของประแจต้องแน่นพอดี และคลุมเต็มหัวน็อต
  • การจับประแจสำหรับผู้ถนัดมือขวา ให้ใช้มือขวาจับปลายประแจ ส่วนมือซ้ายหาที่ยึดให้มั่นคง ร่างกายต้องอยู่ในสภาพมั่นคงและสมดุล
  • การขันประแจไม่ว่าจะเป็นขันให้แน่น หรือคลายต้องใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเสมอ และเตรียมพร้อมสำหรับปากประแจหลุดขณะขันด้วย
  • ควรเลือกให้ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ก่อน เช่น ประแจแหวน หรือประแจปากตาย ถ้าประแจเหล่านี้ใช้ไม่ได้จึงค่อยเลือกใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน แทน 
  • การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน ต้องให้ปากด้านที่เลื่อนได้อยู่ติดกับผู้ใช้เสมอ
  • การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ ต้องปรับปากประแจให้แน่นกับหัวน็อตก่อน จึงค่อยออกแรงขัน
  • ปาก และด้ามของประแจต้องแห้งปราศจากน้ำมัน หรือจาระบี
  • การขันน็อต หรือสกรูที่อยู่ในที่แคบหรือลึก ให้ใช้ประแจกระบอก เพราะปากของประแจกระบอกจะยาว สามารถสอดเข้าไปในรูที่คับแคบได้
  • ขณะขันประแจต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับหัวน็อต หรือหัวสกรู
  • ไม่ควรใช้ประแจชนิดปากปรับได้กับหัวน็อต หรือสกรูที่จะนำกลับมาใช้อีก เพราะหัวน็อต หรือสกรูจะเสียรูป

การจัดเก็บและบำรุงรักษา

  • ตรวจสอบตรวจซ่อมประแจให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง
  • ก่อนนำไปเก็บ ให้ชโลมนำมันเครื่องใสทุกครั้ง