เครื่องมือช่างโลหะแผ่น ที่สามารถใช้งานได้จริงมีเครื่องมือชนิดไหนบ้าง


เครื่องมือช่างโลหะแผ่น

เครื่องมือช่างโลหะมีมากมายหลายชนิดให้คุณได้เลือกใช้ตามความต้องการ แต่เครื่องมือในงานช่างโลหะแผ่น แต่ละชนิดมีลักษณะรูปร่างและหน้าที่การใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องรู้จักเครื่องมือ และวิธีการใช้งานเกี่ยวกับเครื่องมือแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี  ตลอดจนจะต้องรู้จักวิธีการเก็บบำรุงรักษาเกี่ยวกับเครื่องมือแต่ละชนิด เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องมือให้คงทน โดยวันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือช่างที่ใช้ในงานโลหะว่ามีเครื่องมือช่างรูปแบบไหนบ้าง พร้อมวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือช่าง พร้อมแล้วเราไปดูรายละเอียดของบทความนี้กันเลย

เครื่องมือช่างที่ใช้ในงานโลหะ มีเครื่องมือไหนบ้าง

1. กรรไกร (Snips) 

เป็นเครื่องมือตัดที่นิยมในงานโลหะแผ่น เพราะงานที่ตัดด้วยกรรไกรจะมี ขอบเรียบกว่าตัดด้วยการสกัด แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

  • กรรไกรตัดตรง (Straight Snips) ใช้สำหรับตัดตรง ใบตัดมีขนาด ตั้งแต่ 5 – 12 เซนติเมตร สามารถตัดโลหะแผ่นได้ถึงเบอร์
  • กรรไกรแบบผสม (Combination Snips) สามารถตัดได้ทั้งตรงและโค้ง มีขนาด 5 – 12 เซนติเมตร สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 24
  • กรรไกรตัดโค้ง  (Circle Snips) ใบมีดมีลักษณะโค้ง ใช้ตัดโค้ง ได้เพียงอย่างเดียวเหมาะสำหรับตัดโค้งวงกลม สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 22
  • กรรไกรแบบโทรเจน (Trojan Snips) ลักษณะใบตัดจะเล็กยาว สามารถสอดเข้าไปตัดในที่แคบ ๆ ได้ ตัดได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 201.5 กรรไกรอวิเอชั่น (Aviation Snips) จะมีขนาดเดียวคือ ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตรสามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 16 เป็นกรรไกรที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถตัดแผ่นได้หนา มีอยู่ 3 แบบ และเพื่อจำได้ง่ายจึงจำแนกด้วยสี  

วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษากรรไกร

  1. ก่อนใช้กรรไกรตัดแผ่นโลหะ ต้องตรวจสอบว่า สลักเกลียวได้ขันยึดใบตัดทั้งสองแนบชิดกันดีทำให้ตัดชิ้นงานได้เรียบ
  2. ขณะทำการตัดชิ้นงาน ควรให้ใบตัดของกรรไกรตั้งได้ฉากกับแผ่นโลหะเสมอ
  3. ถ้าเป็นการตัดวงกลมหรือเหลี่ยมบนแผ่นโลหะ ควรเจาะรูบนแผ่นโลหะก่อน
  4. ไม่ใช้กรรไกรตัดโลหะที่มีความแข็งและหนาเกินไป จะทำให้ใบตัดกรรไกรบิ่น
  5. ในการตัดด้วยกรรไกร ควรใช้มือบีบเท่านั้น อย่าใช้ค้อนทุบหรือเท้าเหยียบ
  6. ควรหยอดน้ำมันหล่อลื่นบริเวณจุดหมุนอยู่เสมอ
  7. หลังเลิกใช้งานแล้ว ควรชโลมน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม
  8. ไม่ควรเก็บกรรไกรปนกับเครื่องมือมีคมอื่น ๆ     

2. เหล็กย้ำตะเข็บ (Hand Snips) 

ใช้สำหรับย้ำตะเข็บเกี่ยว (Groove Seam)โดยการพับขอบขอบชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้น นำเอามาเกี่ยวกันแล้วใช้ค้อนเคาะแต่งให้เข้าที่ จากนั้นใช้เหล็กย้ำตะเข็บสวมลงบนแนวตะเข็บ และใช้ค้อนตอกจนกระทั่งแนวพับเกี่ยวของชิ้นงานขึ้นสันเป็นตะเข็บล็อกอยู่ตายตัวไม่สามารถหลุดออกได้ เหล็กย้ำตะเข็บจะเป็นร่องลึกสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลายขนาดให้เลือกตามความกว้างของตะเข็บ ในการใช้งานให้เลือกขนาดโตกว่าความกว้างที่เผื่อไว้ตามแบบเล็กน้อย

วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาเหล็กย้ำตะเข็บ

  1. การเลือกใช้เหล็กย้ำตะเข็บต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมของขนาดตะเข็บ
  2. การเลือกใช้เหล็กย้ำตะเข็บ จะต้องเลือกขนาดให้มีความกว้างกว่าร่องย้ำตะเข็บ เท่ากับ นิ้ว
  3. ควรจับเหล็กย้ำตะเข็บให้ตั้งตรง ในขณะใช้ค้อนตอก
  4. หลังเลิกใช้งานแล้ว ควรชโลมน้ำมันบาง ๆ เพื่อป้องกันสนิม

3. ชุดเหล็กย้ำหัวหมุด (Rivet Set) 

ใช้สำหรับตอกย้ำหัวหมุดเพื่อให้โลหะติดกันจะมีลักษณะเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งเรียบสำหรับใช้ค้อนตอก อีกด้านหนึ่งจะมีรูเจาะลึกและรอยลึกรูปวงกลม สำหรับย้ำปลายหมุดให้เป็นรูปครึ่งวงกลม ชุดหนึ่งจะมีหลายขนาดให้เลือกใช้โดยให้สัมพันธ์กับหัวหมุด

วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาชุดเหล็กย้ำหมุด 

  1. ต้องเลือกขนาดของเบ้ากลมของชุดเหล็กย้ำหมุดให้เหมาะสมกับขนาดของหัวหมุดย้ำ
  2. ด้ามของชุดเหล็กย้ำหมุด เมื่อใช้ค้อนตอกไประยะหนึ่ง จะบานเป็นดอกเห็ด กรณีเช่นนี้ควรนำไปลับด้วยหินเจียระไน ให้อยู่ในสภาพใช้งาน
  3. การถือชุดเหล็กย้ำหมุดขณะใช้ค้อนตอก ต้องให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน
  4. หลังเลิกใช้งานแล้ว ควรชโลมน้ำมันบาง ๆ เพื่อป้องกันสนิม 

4. เหล็กเจาะรูด้วยมือ (Hand Punch) 

ใช้สำหรับเจาะรูบนแผ่นโลหะ สามารถเจาะโลหะได้ถึงเบอร์ 14 รูเจาะสามารถเจาะโดยใช้มือกดบีบด้ามจับกดให้งานทะลุเป็นรู

วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาเหล็กเจาะรูด้วยมือ

  1. ก่อนจะทำการเจาะรูควรทำเครื่องหมายบนแผ่นงาน เพื่อป้องกันรูเจาะมิให้ผิดพลาด
  2. ไม่ควรเจาะแผ่นโลหะที่มีความหนามากกว่าเบอร์ 14
  3. อย่าใช้ค้อนตีด้ามเหล็กเจาะรูเป็นอันขาด ควรใช้แรงบีบจากมือเท่านั้น
  4. หมั่นคอยชโลมน้ำมันในส่วนที่เป็นโลหะเปลือย และหยอดน้ำมันบริเวณจุดหมุน     

5. คีมพับตะเข็บ (Hand Seamer) 

ใช้สำหรับพับตะเข็บในกรณีที่ตะเข็บไม่สามารถพับได้ด้วยมือ มีลักษณะเหมือนคีมอื่น ๆ แต่จะมีปากคีมที่แบนกว้างประมาณ 3 นิ้วครึ่ง ลึก 1 นิ้ว มีทั้งชนิดปรับสกรูสำหรับระยะการพับและไม่มีสกรูปรับระยะ

วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาคีมพับตะเข็บ

  1. เลือกใช้คีมพับตะเข็บให้เหมาะกับชิ้นงาน
  2. อย่าใช้คีมพับตะเข็บขันสกรู จะทำให้หัวสกรูนอตเสีย
  3. รักษาด้ามคีมพับตะเข็บให้สะอาดปราศจากคราบน้ำมัน ไม่เช่นนั้นจะลื่น
  4. อย่าใช้ค้อนตีด้ามคีมพับตะเข็บเป็นอันขาด ควรใช้แรงบีบจากมือเท่านั้น
  5. หมั่นคอยชโลมน้ำมันบาง ๆ และหยอดน้ำมันบริเวณจุดหมุน

6. ค้อน (Hammer) 

เป็นเครื่องมือสำหรับตอก ค้อนสำหรับงานโลหะแผ่นมีหลายชนิด แบ่งลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

  • ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer) มีลักษณะปลายด้านหน้าเรียบสำหรับเคาะหรือตอกเหล็กถ่ายแบบหรือนำศูนย์ ด้านหัวจะมนกลม สำหรับเคาะย้ำหัวหมุดย้ำมีหลายขนาด ที่นิยมใช้คือขนาด 113 กรัม และ 170 กรัม
  • ค้อนย้ำหัวหมุด (Reveling Hammer) มีลักษณะปลายด้านหน้าค้อนรูปสี่เหลี่ยมนูนเล็กน้อย ขอบทั้งสี่ด้านลบมุมคม ส่วนหัวค้อนเรียวเข้าหากันใช้สำหรับตีขยายโลหะในการเข้าตะเข็บก้นกระป๋อง มีขนาดตั้งแต่ 133 กรัม ถึง 850 กรัม
  • ค้อนย้ำตะเข็บ (Setting Hammer) มีลักษณะด้านหน้าค้อนรูปสี่เหลี่ยมเรียบ ไม่ลบคม ส่วนหัวเอียงลาดใช้สำหรับเคาะขอบงานเข้าขอบลวด เข้าตะเข็บก้นกระป๋อง มีขนาด ตั้งแต่ 133 กรัมถึง 570 กรัม
  • ค้อมตะลุมพุก (Mallet) เป็นค้อนที่ใช้เคาะโลหะอ่อน เช่น แผ่นสังกะสี เป็นค้อนที่ทำจากวัสดุที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น ค้อนพลาสติก ค้อนยาง หรือค้อนไม้

วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาค้อน                 

  1. เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงาน
  2. การใช้ค้อนทุกชนิด ควรจับที่ด้ามค่อนไปทางปลายค้อน และให้หน้าค้อนสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง  เพื่อทำให้น้ำหนักที่ตอกลงไปสู่ชิ้นงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
  3. เวลาใช้ค้อนต้องยืนอยู่ในท่าที่มั่นคง มือ ช่วงแขน และไหล่สมดุลกัน
  4. ไม่ควรใช้ค้อนไปตอกกับวัตถุอื่น เช่น กาว น้ำมัน หรือคอนกรีต จะทำให้หน้าค้อนชำรุดได้
  5. ก่อนใช้ค้อนทุกครั้งควรตรวจสอบว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้หรือไม่

ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้ในงานโลหะพร้อมวิธีการบำรุงรักษา หากคุณใช้งานเครื่องมือช่างเหล่านนี้แล้ว บำรุงรักษาหลังการใช้งานให้ดี เครื่องมือช่างเหล่านี้ก็สามารถใช้งานได้อย่างยาวนานแน่นอน