เลื่อยสายพานมือสองเป็นเครื่องเลื่อยที่ใช้ตัดงานนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


เลื่อยสายพาน

เป็นเครื่องเลื่อยที่ใช้ตัดงานนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมธุรกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบันและใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากได้ผลตอบรับที่ดี มีความสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งานประหยัดเวลามากกว่าการใช้การตัดชิ้นงานด้วยเลื่อยมือหรือเครื่องเลื่อยชักในการผลิตเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถือว่า ต้องลงทุนน้อยที่สุดและให้ผลเร็วที่สุด จึงจะทำให้ผลกำไรมากขึ้น เลื่อยสายพานจึงมีความสำคัญอย่างมาก

สายพานแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ มีกี่ประเภท

สายพานแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

เลื่อยสายพานแนวนอน  

เครื่องเลื่อยชนิดนี้สามารถตัดชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ๆมีความเร็วในการตัดสูง และมีความแม่นยำที่สูงกว่า สามารถตัดทั้งเหล็กตัน เหล็กฉาก เหล็กกล่อง หรือแป๊บ มีใบเลื่อยยาวติดต่อกันเป็นวงกลม เหมาะสำหรับตัดวัสดุเตรียมงานเป็นจำนวนมากเช่น ในพัสดุของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตหรือในการสร้างอาคารต่าง ๆ

เลื่อยสายพานแนวตั้ง 

เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยเป็นแบบสายพานในแนวตั้ง ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง ใช้ตัดงานเบาหรืองานที่สามารถตัดได้ มีความคล่องตัวในการตัดชิ้นงาน ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานอย่างต่อเนื่องจุดเด่น ใช้ตัดงานเบา ตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ

เครื่องเลื่อยสามารถแบ่งได้เป็นกี่ชนิดแล้วมีอะไรบ้าง

เครื่องเลื่อยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ

  1. เครื่องเลื่อยชัก
  2. เครื่องเลื่อยสายพานนอน
  3. เครื่องเลื่อยสายพานตั้ง
  4. เครื่องเลื่อยวงเดือน

ส่วนประกอบของ เลื่อยสายพาน

  1. โครงเครื่อง (Frame) จะมีน้ำหนักมาก ทำจากเหล็กหล่อหรืออาจจะเป็นเหล็กแผ่น ที่นำมาเชื่อมเป็นโครง สำหรับติดตั้งล้อบนและล้อล่างที่ขับเคลื่อนใบเลื่อยสายพาน นอกจากนี้ตัวเครื่องยังอาจติดตั้งบนฐานเครื่องอีกด้วย 
  2. แท่นเครื่อง (Table) ทำด้วยเหล็กหล่อยึดติดกับโครงเครื่อง เป็นที่สําคัญงานขณะปฏิบัติงาน แท่นเครื่องนี้สามารถปรับเอียงได้ถึง 45 องศา เมื่อต้องการของ ตัดไม้ที่มีมุมเอียง 
  3. ล้อตัวบน (Upper Wheel) ยึดติดกับโครงเครื่องด้านบน ขอบนอกเป็นยางหุ้มเพื่อช่วยให้ใบเลื่อยกระชับไม่ลื่นไถลออกจากล้อ สามารถปรับเลื่อนขึ้นลงได้ เพื่อให้ใบเลื่อย ตึงและเพื่อการเปลี่ยนใบเลื่อย 
  4. ล้อตัวล่าง (Lower Wheel) เป็นตัวขับให้ใบเลื่อยหมุน ซึ่งส่งกำลังมาจากมอเตอร์ ที่ขอบของล้อจะมีแผ่นยางหุ้มโดยรอบ เพื่อไม่ให้ใบเลื่อยลื่นไถลออกจากล้อ 
  5. ที่ป้องกันใบเลื่อย (Blade Guard) ทำด้วยโลหะหรือวัสดุอื่น คลุมใบเลื่อยในแนวดิ่ง ยึดติดกับแกนเลื่อน สามารถปรับเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้
  6. ชุดประคองใบเลื่อย (Blade Guide) มีส่วนประกอบคือ ล้อหลังใบเลื่อย (Ball Bearing Blade Support) และล้อบังคับข้างใบเลื่อย ชุดประคองใบเลื่อยนี้สามารถเลื่อนขึ้นลงได้แท่งยึด
  7. ที่ปรับความตึงใบเลื่อย (Blade Tension) สำหรับการปรับใบเลื่อยสายพานให้ตึง ติดตั้งอยู่ใต้โครงล้อบน 
  8. ที่ปรับใบเลื่อยให้อยู่ในแนวการหมุน (Tracking Adjustment) เป็นที่ปรับล้อบน เพื่อให้เอียง คว่ำหรือหงาย สำหรับประคองใบเลื่อยไม่ให้หลุดจากล้อในขณะหมุน 
  9. ครอบล้อบนและล่าง (Upper and Lower Wheel Guard) เป็นฝาครอบ สำหรับล้อบนและล้อล่าง เพื่อป้องกันอันตรายในขณะหมุน 
  10. แท่งยึดชุดประคองใบเลื่อย (Guide Post) ทำด้วยเหล็กแท่งตัน ติดตั้งที่ป้องกันใบเลื่อย และที่ปลายด้านล่างจะติดตั้งชุดประคองใบเลื่อย 
  11. มอเตอร์ (Motor) ติดตั้งอยู่กับโครงเครื่องตรงกับแกนล้อล่าง เป็นตัวขับเคลื่อน ล้อล่างเพื่อให้ใบเลื่อยหมุน

การถอดเปลี่ยน ใบเลื่อยสายพาน 

การถอดและเปลี่ยนใบเลื่อยสายพานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวัง การปรับส่วน ต่างๆ ให้ถูกต้องเมื่อเปิดเครื่อง ใช้งานจะได้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

  1. เปิดฝาครอบล้อบนและล่าง นำแผ่นปิดช่องใบเลื่อยออก 
  2. หมุนคลายที่ปรับความตึงของใบเลื่อย (Blade Tension) เพื่อลดล้อบนให้เลื่อนลงทำให้ใบเลื่อยคลายความตึงและหย่อนตัว3. ใช้ทั้งสองมือจับใบเลื่อย และค่อย ๆ ถอดใบเลื่อยออกจากล้อบนและล้อล่าง
  3. นำใบเลื่อยใบใหม่ที่เตรียมไว้ ใส่เข้าไปในล้อบนและล้อล่างให้ฟันใบเลื่อยชี้ลง ถ้าใบ เลื่อยใบใหม่มีความยาวหรือสั้นกว่าให้ปรับที่ Blade Tension เพื่อเลื่อนล้อบนให้ได้ระยะ
  4. จัดใบเลื่อยให้อยู่บนขอบวงล้อ และให้อยู่ตรงกับแนวชุดประคองใบเลื่อย
  5. หมุนปรับความดึงของใบเลื่อย ให้ล้อบนเลื่อนขึ้นเพื่อตึงใบเลื่อย ควรปรับให้ความตึงของใบเลื่อยพอประมาณ ไม่ควรให้ตึงหรือหย่อนเริง
  6. ใช้มือลองหมุนที่ล้อบนทิศทางตามเข็มนาฬิกา เพื่อตรวจสอบการหมุนของใบเลื่อยว่าอยู่ในแนวขอบล้อ โดยไม่เลื่อนหลุดออกจากล้อ หากใบเลื่อยเคลื่อนที่ไม่อยู่ในตำแหน่งกลางขอบล้อ ก็ให้ปรับ Tracking Adjustment ให้ล้อบนเอียงหงายหรือคว่ำ เพื่อให้ใบเลื่อยเคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งโดยไม่หลุดออกจากวงล้อ
  7. ปรับเลื่อนแท่งยึดชุดประคองใบเลื่อย (Guide Post) ขึ้น เพื่อให้ชุดประคองใบเลื่อย อยู่สูงกว่าผิวชิ้นงานประมาณ ¼ นิ้ว ถึง นิ้ว ขันนอตยึดให้แน่น ใส่แผ่นปิดช่องใบเลื่อย